เอกสารข้อควรระวังในการใช้งาน

ข้อควรระวังที่แสดงด้านล่างนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจได้ถึงการใช้งานผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัยและถูกต้อง
โปรดทราบว่าการใช้งานผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีข้อจำกัดบางประการ หากไม่ปฏิบัติตามอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินได้

KAMLOK

หมายเหตุสำหรับการติดตั้ง

  1. เลือกชุดอุปกรณ์หลักและวัสดุแหวนรองกันรั่วให้เหมาะสมกับของไหลที่ใช้งาน
  2. ไม่ควรใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายเมื่อมีการแพร่กระจาย (เช่น แก๊สปฏิกิริยา ฯลฯ) ในขณะที่สารเคมีอยู่ในสถานะแก๊ส
  3. ใช้ผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับช่วงแรงดันใช้งานที่ได้ออกแบบไว้
  4. ห้ามให้ข้อต่อหรือก้านแคมล็อคได้รับแรงกระทำจากภายนอก (การกระแทก/การสั่นสะเทือน)
    เนื่องจากอาจนำไปสู่ความเสียหาย หรือเป็นสาเหตุให้เกิดการรั่วซึมของของไหล หรืออาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับฟังก์ชันป้องกันการหลุด
  5. หลีกเลี่ยงการดึงหรือการลากท่ออ่อนบนพื้น การกระทำดังกล่าวอาจทำให้ก้านแคมล็อคเกี่ยวเข้ากับวัตถุและล็อคอาจหลุดได้
    ซึ่งทำให้เกิดสภาวะที่เป็นอันตราย
  6. ขอแนะนำให้จับที่ข้อต่อขณะเคลื่อนย้ายท่ออ่อน
  7. หลีกเลี่ยงอย่าให้มีโหลดกระทำที่ส่วนเชื่อมต่อ เนื่องจากอาจทำให้ของไหลรั่วออกได้
  8. ใช้ค่าแรงขันที่เหมาะสมเมื่อติดตั้งผลิตภัณฑ์ประเภทเกลียว
    ใช้เทปซีลและผลิตภัณฑ์ซีลที่บริเวณเกลียวเมื่อติดตั้งชุดข้อต่อเข้ากับท่อ ชิ้นส่วนที่เชื่อมต่อกันระหว่างโลหะต่อโลหะและระหว่างวัสดุชนิดเดียวกันอาจยึดติดกันอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถถอดออกจากกันได้
  9. ห้ามต่อข้อต่อหรืออะแดปเตอร์ KAMLOK เข้ากับข้อต่อที่ทำจากวัสดุต่างชนิดกัน
    การต่อวัสดุต่างชนิดอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการรั่วซึมของของไหล การกัดกร่อน (การกัดกร่อนทางไฟฟ้า) หรือปัญหาในการเปิดและการปิดก้านแคมล็อค
  10. ถอดข้อต่อ KAMLOK ออกเมื่อตรวจสอบแล้วว่าไม่มีแรงดันหรือวัสดุตกค้างอยู่ภายในแล้วเท่านั้น
  11. เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลพุพองเมื่อใช้งานของไหลอุณหภูมิสูง ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับข้อต่อโดยตรง
  12. สวมถุงมือและรองเท้านิรภัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในระหว่างการติดตั้งและการปฏิบัติงาน
  13. เมื่อติดตั้งข้อต่อ KAMLOK จัดตำแหน่งให้ข้อต่ออยู่ที่ด้านที่ตํ่ากว่า
  14. การใช้งานของไหลโดยมีอัตราการไหลสูงอาจส่งผลให้เกิดโพรง ซึ่งทำให้เกิดการเสียดสีหรือความเสียหายที่ผิวด้านในของ KAMLOK ทำการตรวจสอบตามช่วงกำหนดเวลาที่เหมาะสม
  15. ใช้ความระมัดระวังไม่ให้มีวัตถุต่างๆ เกี่ยวหรือแขวนกับก้านล็อค แหวน หรือชิ้นส่วนที่ยึดไว้กับที่ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปและหลุดออกได้
  16. ห้ามให้ส่วนอื่นนอกเหนือจากผิวด้านในของข้อต่อหรือท่ออ่อนสัมผัสกับของไหล เนื่องจากของไหลอาจซึมเข้าสู่ชั้นเสริมแรงของท่ออ่อน หรือตกค้างภายในข้อต่อและทำให้แบคทีเรียแพร่กระจาย (ฝังตัวที่ชิ้นส่วนต่างๆ) หรืออาจทำให้ท่ออ่อนเสื่อมสภาพได้ นอกจากนี้ ฝุ่น เศษท่ออ่อน (วัสดุเสริมแรง) และหมึกที่ติดอยู่กับผิวด้านนอกอาจผสมเข้าภายในได้
  17. โปรดใช้ความระมัดระวังในกรณีที่ของเหลวและของไหลที่มีความหนืดสูงอาจติดกับส่วนก้านล็อคหรือชิ้นส่วนที่ยึดไว้กับที่
    หากมีของไหลเข้าไปติดอยู่ในบริเวณดังกล่าว อาจส่งผลต่อการยึดและการปลดก้านล็อคออก
  18. ห้ามให้มีแรงกระทำมากเกินไปหรือผลักส่วนก้านล็อคขึ้นอย่างรุนแรงขณะที่ยึดก้านแคมล็อคไว้
    เนื่องจากอาจทำให้ชิ้นส่วนหรือข้อต่อเกิดความเสียหาย ทำให้ฟังก์ชันป้องกันการหลุดของก้านล็อคและการยึดก้านล็อคชั่วคราวไม่สามารถใช้งานได้
  19. ห้ามถอดชิ้นส่วน TWINLOK ออก สำหรับการเปลี่ยนก้านล็อคและชิ้นส่วนต่างๆ โปรดติดต่อ Toyox
  20. เมื่อเชื่อมต่อ KAMLOK อาจมีผงฝุ่นออกมาจากการขันแน่นของก้านแคมล็อค โปรดขจัดผงฝุ่นก่อนใช้
  21. ใช้สลักยึดหรือผลิตภัณฑ์ TWINLOK เพื่อป้องกันการหลุดของข้อต่อโดยอุบัติเหตุ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสั่นสะเทือน หรือก้านล็อคเกี่ยวเข้ากับเสื้อผ้า
  22. ช่วงอุณหภูมิการใช้งานของอะลูมิเนียม (AL), บรอนซ์ (BR) และสแตนเลส (SST) จะสอดคล้องตามช่วงอุณหภูมิการใช้งานของแหวนรองกันรั่วที่ใช้งาน
    ช่วงอุณหภูมิการใช้งานของปลายท่ออ่อนจะสอดคล้องตามช่วงอุณหภูมิการใช้งานของแหวนรองกันรั่วที่ใช้งาน
    ช่วงอุณหภูมิการใช้งานของโพลีโพรพิลีน (PP) คือตั้งแต่ 0 ถึง 60℃

หมายเหตุสำหรับแหวนรองกันรั่ว

  1. ก่อนการใช้งานข้อต่อ ควรตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าแหวนรองกันรั่วมีขนาดพอดีกับร่องที่โครงหลักของข้อต่อ (โปรดดูรูปทางด้านล่าง)
  2. หมายเหตุสำหรับแหวนรองกันรั่ว

  3. สิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ที่ฐานรองแหวนรองกันรั่วอาจทำให้ก้านแคมล็อคปิดได้ยาก และอาจทำให้เกิดการรั่วไหล ตรวจหาและนำสิ่งแปลกปลอมออก
  4. กรณีที่ใช้ปะเก็น‎เรซินฟลูออรีน (PTFE) หากขนาดของข้อต่อและอะแดปเตอร์ที่ใช้งานเท่ากับ 1/2″ ให้ใช้ปะเก็นขนาด 1/2″
  5. เนื่องจากปะเก็นชนิดเรซินฟลูออรีนที่ใช้เรซินฟลูออรีน (PTFE และ FEP) จะขาดความยืดหยุ่น จึงอาจทำให้เกิดการรั่วไหลได้ตามสภาพการใช้งาน
  6. ประเมินแรงที่จำเป็นเพื่อใช้ในการปิดก้านแคมล็อคเมื่อเชื่อมต่อหรือถอดข้อต่อ KAMLOK หากแรงที่จำเป็นมีค่าต่ำเกินไป ซีลแหวนรองกันรั่วอาจไม่สามารถใช้งานได้ ในกรณีนี้ขอแนะนำให้เปลี่ยนแหวนรองกันรั่ว
    *หากรู้สึกว่าการปิดก้านแคมล็อคทำได้ง่ายจนเกินไปหลังจากเปลี่ยนแหวนรองกันรั่วแล้ว แสดงว่าโครงหลักอาจชำรุด ในกรณีดังกล่าวให้เปลี่ยนโครงหลัก

หมายเหตุสำหรับการตรวจสอบ

  1. การตรวจสอบเมื่อเริ่มปฏิบัติงาน: ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ให้ตรวจสอบว่าข้อต่อไม่มีความผิดปกติใดๆ และก้านแคมล็อคปิดจนสุดแล้ว
  2. การตรวจสอบทั่วไป: ในระหว่างที่ใช้งาน จะต้องดำเนินการตรวจสอบเป็นประจำ

สิ่งที่ควรทำหากพบความผิดปกติ

หากพบลักษณะที่ผิดปกติดังที่ระบุด้านล่าง ในระหว่างการตรวจสอบก่อนเริ่มปฏิบัติงาน หรือในการตรวจสอบตามช่วงกำหนดเวลา ให้หยุดการใช้งานผลิตภัณฑ์โดยทันทีและแทนที่ด้วยผลิตภัณฑ์ชุดใหม่

  1. โครงหลักหรือส่วนประกอบใดๆ ที่มีรอยขูดขีดขนาดใหญ่ รอยแตกร้าว การเปลี่ยนรูป หรือมีพินที่ยื่นออกมา
    (อายุการใช้งานของโครงหลัก ก้านแคมล็อค และแหวนรองกันรั่ว จะขึ้นอยู่กับวัสดุและเงื่อนไขการใช้งาน ขอแนะนำให้เปลี่ยนตามช่วงกำหนดเวลา)
  2. การปิดก้านแคมล็อคทำได้ง่ายจนเกินไป เมื่อเชื่อมต่อหรือถอดข้อต่อ KAMLOK

หมายเหตุสำหรับการจัดเก็บ

  1. ใช้ปลั๊กกันฝุ่นและฝาปิดกันฝุ่นเพื่อป้องกันฝุ่นละอองเกาะสะสม และป้องกันความเสียหายหรือการเปลี่ยนรูปของผิวซีล
  2. นำของไหลที่ตกค้างออกจากโครงหลักหลังจากการใช้งาน เมื่อไม่ได้ใช้งาน ให้เก็บก้านแคมล็อคขณะอยู่ในตำแหน่งยึด เพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนหลุดออก
  3. เมื่อก้านแคมล็อคถูกเปิดออก ชิ้นส่วนต่างๆ จะยื่นออกมา ทำให้เสี่ยงต่อการเปลี่ยนรูปเนื่องจากแรงกระทำจากภายนอก รวมถึงเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ

หมายเหตุสำหรับการกำจัด

  1. ปฏิบัติตามข้อบังคับการแยกขยะของท้องถิ่นทั้งหมดเมื่อทำการกำจัดผลิตภัณฑ์
    *โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเราหากมีข้อสงสัยใดๆ