ตัวอย่างของแนวทางการปรับปรุง

เครื่องสำอางและสารเคมี

ท่อระเบิดบ่อยเพราะการดัดงอ ความร้อนและแรงดัน!

โรงงานนี้ใช้ท่อถักซิลิคอนของบริษัทอื่นในเครื่องบรรจุเครื่องสำอาง
แต่มีการเสียดสีเนื่องจากต้องดัดงอเวลาบรรจุ และเกิดความร้อนกับ
แรงดันในขณะล้างแบบ CIP ทำให้ท่อระเบิดและต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ

วัสดุเสริมแรงเป็นสนิม!กังวลเรื่องสิ่งเจือปน

โรงงานผลิตเครื่องสำอางแห่งนี้ใช้ท่อสปริงในการลำเลียงวัตถุดิบและน้ำยาเคมีผลิตแชมพู
แต่เมื่อใช้ท่อลำเลียงน้ำยาไปนานเข้า ลวดที่ใช้เป็นวัสดุเสริมความแข็งแรงเกิดสนิมเกาะ
ทางโรงงานกังวลว่าสนิมจะปนเปื้อนไปในผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ต้องมีการย้ายท่อบ่อย
และในการย้ายแต่ละครั้งต้องยุ่งยากในการตัดท่อ

ท่อแข็งตัว มีรอยร้าวเนื่องจากสารเคมี!

โรงงานผลิตหมึกพิมพ์ใช้ท่อพีวีซีสลับกับท่อพีดีวีเอฟตามประเภทของหมึกว่าเป็นหมึกน้ำหรือหมึกทำละลาย
แต่ท่อพีดีวีเอฟใช้ได้ไม่ทนเมื่อใช้กับหมึกทำละลาย ท่อเกิดแข็งตัวและมีรอยร้าวเมื่อใช้ไปได้ประมาณ 1 ปี

ท่อที่รัดด้วยสายรัดท่อแบบหางปลาหลุด สิ้นเปลืองผลิตภัณฑ์!

ใช้ท่อพีวีซีที่รัดด้วยสายรัดท่อแบบหางปลา 2 ตัว ตรงบริเวณส่วนที่เติมหัวเชื้อสบู่
แต่ว่าหัวเชื้อสบู่ลื่นมาก จึงทำให้หัวจุกนิปเปิ้ลหลุดและน้ำยาไหลออกมา
เสียทั้งของทั้งเวลาในการทำความสะอาด

ท่อหลุดกระทันหัน เสียหายมาก!

โรงงานผลิตและแปรรูปสีย้อมนี้ใช้สายรัดแบบหางปลาเพื่อรัดท่อดูดบริเวณที่ลำเลียงสีย้อมระหว่างเครื่องจักร
ทว่าจู่ ๆ ท่อหลุดกระทันหัน ทำให้สีหกออกมา เนื่องจากตัวสีมีราคาแพง หากหก จะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
มาก จึงต้องคิดหาวิธีแก้ไข

ท่อซิลิคอนพับหักทำให้สารเคมีไหลผ่านได้น้อย!

โรงงานผลิตผงซักฟอกนี้ใช้ท่อซิลิคอนสำหรับถ่ายเทสารเคมีประเภทโซเดียมไฮดรอกไซด์และ
แคลเซียมไฮดรอกไซด์ แต่ว่าต้องงอท่อเมื่อใช้ในที่แคบ ทำให้ท่อพับหัก สารเคมีไหลผ่านน้อยลง
จึงต้องคิดหาวิธีแก้ไข

ไฟฟ้าสถิตช็อต! ท่อตัน!

โรงงานผลิตสารกำจัดศัตรูพืชนี้ส่งผงวัตถุดิบผ่านท่อที่มีสายดินฝังอยู่ แต่ถึงแม้จะมีสายดิน
เวลาสัมผัสตัวท่อจะถูกไฟช็อตเนื่องจากมีไฟฟ้าสถิตอยู่ นอกจากนี้ ผงวัตถุดิบเองยังเกาะติด
อยู่ในท่อทำให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่ดี เป็นอุปสรรคในการทำงาน

ท่อเสื่อมเพราะไอน้ำเกาะ!มีน้ำหยด – ท่อหลุด!

ในโรงงานผลิตหมึกนี้ เกิดปัญหาท่อยางที่ใช้ปล่อยน้ำหล่อเย็นเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศเสื่อมลง
เนื่องจากมีไอน้ำเกาะ เมื่อท่อเสื่อม น้ำก็หยด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาท่อหลุดเวลาเครื่องจักรสั่นสะเทือน
โรงงานต้องการที่จะเปลี่ยนท่อ แต่กังวลเรื่องอะไหล่เพราะเครื่องจักรที่ใช้อยู่เป็นเครื่องจากต่างประเทศ
จึงไม่ได้เปลี่ยน

ท่อตันเพราะสีเพ้นท์เกาะติด!ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

สายการผลิตของโรงงานสีเพ้นท์ได้ใช้ท่อของบริษัทอื่นซึ่งมีขนาด 25 Φ ต่อจากแท้งค์เข้าสายงานบรรจุ
ในแต่ละล็อตการผลิต พนักงานล้างภายในท่อด้วยทินเนอร์ ทว่าในท่อมีสีเพ้นท์แข็งเกาะติดอยู่
ทำให้ท่อตีบลงจนเหลือขนาดเพียง 9 Φ อีกทั้งพนักงานไม่สามารถเช็คสภาพภายในท่อได้เพราะท่อทึบ