ตัวอย่างของแนวทางการปรับปรุง

เครื่องใช้ไฟฟ้าและขึ้นรูปพลาสติก

การออกแบบที่ผ่านการปรับปรุงใหม่ ช่วยประหยัดเวลาทำความสะอาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าเดิม

โรงงานแห่งหนึ่งเดิมใช้สายดูดเพื่อลำเลียงเม็ดพลาสติกไปยังเครื่องฉีดขึ้นรูป
แต่เกิดไฟฟ้าสถิตในระหว่างการทำงาน ทำให้เม็ดพลาสติกอุดตันสายยางและทำให้ต้องหยุดการผลิต สายยางเป็นแบบทึบจึงทำให้หาจุดที่อุดตันได้ลำบาก เสียเวลาในการหาจุดที่อุดตัน ประสิทธิภาพการผลิตจึงลดลง

ความทนทานต่อการสึกหรอที่ดีขึ้นช่วยป้องกันการเกิดรูและสิ่งแปลกปลอมเข้าด้านใน

แต่ก่อนลูกค้าใช้สายยางดูดในการลำเลียงเม็ดพลาสติกไปยังเครื่องฉีดขึ้นรูปในโรงงานฉีดขึ้นรูปพลาสติกสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์
แต่สายยางเกิดรูเนื่องจากการเสื่อมสภาพจากการสึกหรอหลังการใช้งานเพียง 1 ปี ของเสียไหลผ่านรูเข้าด้านในสายยาง สิ่งแปลกปลอมจึงปนเปื้อนไปกับของที่ลำเลียงจนทำให้มีตำหนิ

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความปลอดภัยอย่างเห็นได้ชัด โดยการป้องกันสายยางเสื่อมสภาพและป้องกันการหลุดรั่วของข้อต่อ

แต่ก่อนลูกค้าใช้สายยางซิลิโคนทนความร้อนต่อกับแคลมป์รัดท่อแบบข้อต่อหางปลาไหล เพื่อลำเลียงน้ำร้อน (120°C) สำหรับเครื่องหล่อพลาสติก แต่สายยางเริ่มมีรอยแตกหลังใช้งานไม่ถึงหนึ่งปี ข้อต่อยังหลุดและมีการรั่วไหลเกิดขึ้น ลูกค้าจึงต้องหาวิธีป้องกันการสูญเสียผลผลิตและป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากแผลพุพองในการปฏิบัติงาน

ท่ออ่อนเป็นรูจากแรงเสียดทาน เป็นสาเหตุให้ลำเลียงวัตถุดิบได้ไม่สม่ำเสมอ

ในการลำเลียงวัตถุดิบที่เป็นเม็ดพลาสติกจากเครื่องอบแห้งไปยังเครื่องฉีดขึ้นรูป จะมีแรงเสียดทานซึ่งอาจทำให้เกิดรูในท่ออ่อนได้ แม้ว่าจะมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ใช้งานได้ต่อไป แต่ไม่สามารถลำเลียงได้ตามยอดปริมาตรที่ต้องการ การขึ้นรูปเกิดความเสียหาย และเสียเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแทนที่จะนำไปใช้เพื่อทำงานอื่นๆ

ความร้อนทำให้ท่ออ่อนยุบตัว ท่ออ่อนจึงลำเลียงวัตถุดิบได้ไม่เสถียร

ท่ออ่อนลำเลียงพลาสติก PET ที่อุณหภูมิอบแห้ง 80°C ถึง 100°C เกิดการยุบตัวเนื่องจากความร้อน ทำให้ลำเลียงวัตถุดิบได้ไม่เสถียร จนเป็นสาเหตุทำให้แม่พิมพ์เกิดความเสียหาย นอกจากนี้ การลำเลียงวัสดุผงต่างๆ ยังก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิต ทำให้วัตถุดิบเกาะติดผิวด้านในท่ออ่อน และต่อมาปะปนกันเมื่อมีการเปลี่ยนทิศทางการไหล และปนเปื้อนเข้ากับผลิตภัณฑ์ที่ลำเลียงอยู่ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการรับมือปัญหาดังกล่าว

วัสดุผิวด้านในของท่ออ่อนเกิดการสึกหรอ ทำให้เกิดรูรั่ว และต้องเปลี่ยนท่ออ่อนบ่อยครั้ง

วัสดุผิวด้านในของท่ออ่อนที่ใช้ลำเลียงเม็ดพลาสติกมักเกิดการสึกหรอ ทำให้เกิดรูรั่ว และต้องเปลี่ยนท่ออ่อนบ่อยครั้ง วัสดุที่สึกหรอจะปนเปื้อนเข้ากับผลิตภัณฑ์ที่ลำเลียง ทำให้เกิดการสูญเสียผลิตภัณฑ์และลดผลผลิต

อันตรายจากไฟฟ้าสถิต!ท่อตันเพราะวัตถุดิบเกาะติดอยู่!

โรงงานนี้เป็นโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ส่งให้บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและสินค้า
100 เยน ปัญหาคือ ท่อที่ใช้ลำเลียงวัตถุดิบจากแท้งค์วัตถุดิบไปยังถังป้อนเกิด
ไฟฟ้าสถิตง่าย ทำให้พนักงานแต่ละคนกลัวที่จะสัมผัสชิ้นงานและเครื่องจักร
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาวัตถุดิบเกาะติดอยู่ภายในท่อทำให้ท่อตันและ
ประสิทธิภาพการผลิตลดลง

เม็ดพลาสติกเกาะติดในท่อเพราะมีไฟฟ้าสถิตทำให้สิ้นเปลืองเม็ดพลาสติก!

โรงงานนี้เป็นโรงงานผลิตกระจกโค้ง ซึ่งใช้ท่อพีวีซีในการลำเลียงเม็ดพลาสติก ขณะลำเลียง
มักจะเกิดไฟฟ้าสถิตในขั้นตอนการเปลี่ยนสี ทำให้เม็ดพลาสติกเกาะติดในท่อและ
ต้องเสียเม็ดพลาสติกในการผลิต ทางบริษัทจึงเรียกร้องให้หาทางแก้ปัญหานี้

เกิดอุบัติเหตุจากชิ้นส่วนโลหะหลุด และน้ำล้นในโรงงาน!

ในโรงงานนี้ใช้ท่อ TOYODROP เป็นท่อส่งน้ำหล่อเย็น ที่ผ่านมา เคยเกิดปัญหาชิ้นส่วนโลหะหลุดถึง 3 ครั้ง
ทำให้น้ำเอ่อล้นจนท่วมถึงข้อเท้า และมีปัญหาที่สายรัดคือ 1. ไม่รู้ว่าแรงบิดที่เหมาะสมคือเท่าไร
2. ถ้าขันแน่นเกินไปจะทำให้สายด้านในขาดและระเบิด
3. พอใช้ไปนานเข้า สายรัดจะหลวมและทำให้ท่อรั่วหรือหลุด

ท่อแข็งตัวและรั่วเพราะความร้อน และน้ำร้อนไปถูกสินค้า!

เพื่อลดอัตราของเสียของสินค้า ทางบริษัทจึงได้เปลี่ยนอุณหภูมิของแท่นพิมพ์ใหม่จาก
60–80 องศาเป็น 80–95 องศา ทำให้ท่อยางส่งน้ำร้อนสำหรับปรับเปลี่ยนอุณหภูมิแข็งตัวเร็วขึ้น
และเกิดปัญหาน้ำร้อนรั่วออกมาจากท่อไปถูกสินค้า กลับทำให้เกิดปัญหาใหม่