ใช้แผน BCP เพื่อการจัดส่งที่มีเสถียรภาพ

เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่น ฝนตกหนักอย่างฉับพลัน หรือแผ่นดินไหว อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ที่ Toyox เรามุ่งมั่นที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์อย่างมีเสถียรภาพให้กับลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยมาตรการ BCP (Business Continuity Plan – แผนเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ)

* BCP ย่อมาจาก Business Continuity Planning
เป็นแผนบริหารความต่อเนื่องพื้นฐานที่ใช้กันทั่วไปในบริษัท

ทำไม Toyox จึงต้องใช้แผนงาน BCP?

การรักษาความไว้วางใจของลูกค้า
เพื่อคงความรับผิดชอบของเราต่อการส่งมอบผลิตภัณฑ์ และให้ได้การประสานงานที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้อย่างต่อเนื่องกับลูกค้า เราจึงมีมาตรการเพื่อลดความเสียหาย และลดระยะเวลาในการเติมสินค้าเข้าคลังกรณีที่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่สุด รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงที่สามารถประเมินได้
ความปลอดภัยสำหรับพนักงานและครอบครัว
เพื่อเป็นธุรกิจที่พนักงานสามารถทำงานได้อย่างไร้กังวล เราให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยและความมั่นคงในด้านการจ้างงานของพนักงาน เช่นเดียวกับความปลอดภัยสำหรับครอบครัวของพนักงาน
การมีส่วนร่วมใน ท้องถิ่นและสังคม
เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรซึ่งพนักงานแต่ละคนมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ทั้งในท้องถิ่นและสังคม โดยคำนึงถึงหลักการของการมีส่วนร่วม ในท้องถิ่นและสังคมตลอดเวลา

อุบัติเหตุหรือภัยพิบัติแบบใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นได้?

จากความเสี่ยงทั้งหมดที่ Toyox อาจพบเจอ เราได้เลือกที่จะมุ่งเน้นความเสียหายจากน้ำและแผ่นดินไหว ไวรัสแพร่ระบาด และไวรัสคอมพิวเตอร์

ความเสียหาย
จากน้ำ
แผ่นดินไหว การติด
เชื้อไวรัส
การติด
ไวรัส
คอมพิวเตอร์

การดำเนินการพิเศษเพื่อมาตรการ BCP

เรารับประกันการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ถึงมือคุณได้อย่างมีเสถียรภาพ!

  • การกระจาย
    ตำแหน่ง
    ของโรงงาน
  • มาตรการของ
    โรงงานเพื่อรับมือ
    กับภัยพิบัติ
  • การสร้าง
    ซัพพลายเชน
    สำหรับ BCP
  • ส่งมอบ
    อย่างมีเสถียรภาพ
    สินค้าในสต็อก
    มากขึ้น
  • การกระจาย
    ตำแหน่ง
    คลังสินค้า

มาตรการBCP

การกระจายตำแหน่งของโรงงาน

ภายใน
เมืองคุโรเบะ
โรงงานสำนักงานใหญ่: 4 แห่ง
โรงงานสนับสนุน: 2 แห่ง
นอกจังหวัด
โทยามะ
โรงงานสนับสนุน: 2 แห่ง
นอกประเทศญี่ปุ่น โรงงานกลุ่มอาเซียน(ประเทศไทย)
ความร่วมมือกับ FITT SPA
ประเทศอิตาลี
  • โรงงานสำนักงานใหญ่

    โรงงานสำนักงานใหญ่

  • โรงงานกลุ่มอาเซียน

    โรงงานกลุ่มอาเซียน

มาตรการของโรงงานเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ

  • ・ติดตั้งมาตรวัดปริมาณน้ำฝนเพื่อเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้า
  • ・ติดตั้งแนวกระสอบทรายและดำเนินการฝึกซ้อมเป็นประจำ เพื่อเตรียมรับมือสำหรับโรงงานที่มีความเสี่ยงจากความเสียหายจากน้ำ
  • ・เริ่มใช้งานระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว เพื่อการอพยพที่ทันท่วงที
  • ・เริ่มใช้งานระบบการยืนยันความปลอดภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ
  • ・ใช้มาตรการป้องกันความเสียหายจากน้ำภายในโรงงาน
  • ・ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
  • ・มีการฝึกซ้อมการรับมือเหตุภัยพิบัติในเวลากลางคืนเป็นประจำ
  • ・เพิ่มจำนวนสินค้าเก็บสต็อกเพื่อรองรับการจัดส่งสินค้าจนกระทั่ง เติมสินค้ากลับเข้าคลัง
  • ・ยกเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลสูงขึ้นจากพื้นเพื่อรับมือกับความเสียหายจากน้ำ
  • ・การจัดการข้อมูล Cloud
  • ติดตั้งมาตรวัดปริมาณน้ำฝนเป็นมาตรการ รับมือเหตุฝนตกหนักอย่างกะทันหัน

    ติดตั้งมาตรวัดปริมาณน้ำฝนเป็นมาตรการ
    รับมือเหตุฝนตกหนักอย่างกะทันหัน

  • ติดตั้งผนังกั้นน้ำเพื่อป้องกันสินค้า เก็บสต็อกจากความเสียหายจากน้ำ

    ติดตั้งผนังกั้นน้ำเพื่อป้องกันสินค้า
    เก็บสต็อกจากความเสียหายจากน้ำ

  • อุปกรณ์ควบคุมยกสูงขึ้นจากพื้น เพื่อรับมือกับการรั่วไหล

    อุปกรณ์ควบคุมยกสูงขึ้นจากพื้น
    เพื่อรับมือกับการรั่วไหล

  • หม้อแปลงไฟฟ้ายกสูงขึ้นจากพื้น เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ

    หม้อแปลงไฟฟ้ายกสูงขึ้นจากพื้น
    เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ

สามารถติดตั้งกล้องเพื่อเฝ้าตรวจสอบกระแสน้ำบริเวณโรงงานเพื่อเป็นมาตรการรับมือความเสียหายจากน้ำ โดยสามารถตรวจสอบผ่านสมาร์ทโฟนได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สามารถติดตั้งกล้องเพื่อเฝ้าตรวจสอบกระแสน้ำบริเวณโรงงานเพื่อเป็นมาตรการรับมือความเสียหายจากน้ำ โดยสามารถตรวจสอบผ่านสมาร์ทโฟนได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การกระจายตำแหน่งคลังสินค้า

  • ・การกระจายตำแหน่งของคลังสินค้า และการเพิ่มจำนวนสต็อกตามเวลาในการเติมสินค้าเข้าคลังโดยประมาณ เพื่อให้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีเสถียรภาพ

การกระจายตำแหน่ง คลังสินค้า

การสร้างซัพพลายเชนสำหรับ BCP

  • ・แบบสอบถาม BCP สำหรับซัพพลายเออร์
  • ・การสร้างฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ร่วมกับซัพพลายเออร์
  • ・การกระจายความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ของซัพพลายเออร์
  • ・การสร้างเครือข่ายซัพพลายทั่วโลก

การกระจายตำแหน่ง คลังสินค้า